
สำหรับใครมีรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์มือหนึ่งหรือมือสอง ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายนั่นก็คือ ภาษีรถยนต์ ซึ่ง “ราคาต่อภาษีรถยนต์น้ำมันและรถยนต์ไฟฟ้า ปี 2566 คิดอย่างไร ?” สามารถคลิกตรวจสอบราคาได้ตามนี้ (คลิกอ่าน)
คราวนี้มาเช็คเอกสารที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์กันว่าจะต้องใช้อะไรบ้าง โดยเอกสารที่จำเป็นนำไปต่อทะเบียนรถยนต์จะมีดังนี้
- ทะเบียนรถยนต์หรือจะใช้สำเนา
- เอกสาร พ.ร.บ. (ใช้ส่วนล่าง)
- ใบตรวจสภาพรถยนต์ / รถที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี (รถยนต์) หรือ 5 ปี (รถมอเตอร์ไซค์)
- กรณีที่รถยนต์ติดแก๊ส จะต้องใช้เอกสารตรวจสอบสภาพระบบแก๊สและถังแก๊ส
- กรณีรถยนต์โดนใบสั่ง จะต้องชำระให้เรียบร้อยก่อนต่อทะเบียน
- กรณีที่รถยนต์โดนอายัดจะต้องใช้เอกสารถอนอายัด
ช่องทางชำระภาษีรถยนต์
เมื่อเตรียมเอกสารครบเรียบร้อยจากนั้นให้นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นเพื่อชำระภาษีรถยนต์ได้ตามช่องทางนี้
- กรมการขนส่งทางบก (ตรงข้ามตลาดนัดจตุจักร)
- สำนักงานขนส่งทั่วไทย ไม่ว่ารถยนต์คันนั้นจะจดป้ายทะเบียนไว้ที่จังหวัดใดก็ตาม ก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อต่อภาษีได้ทุกพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีบริการชำระภาษีรถยนต์ให้เลือกเพิ่มอีก 2 แบบ ทั้งเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) และตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
- ที่ทำการไปรษณีย์ จะมีค่าธรรมเนียมการชำระ 40 บาท โดยตัวป้ายสี่เหลี่ยมจะถูกส่งไปยังที่อยู่ที่เจ้าของรถระบุเอาไว้
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ‘ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี’ (Shop Thru for Tax) โดยจะให้บริการอยู่ในบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ ต่อได้เฉพาะรถยนต์ที่อายุไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุไม่เกิน 5 ปี โดยตัวป้ายสี่เหลี่ยมจะส่งตามมาทีหลังตามชื่อที่อยู่ที่ระบุไว้ และมีค่าธรรมเนียมการให้บริการ 20 บาท ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เพิ่มอีก 40 บาท
- แอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet
- ต่อภาษีแบบออนไลน์โดยตรง ได้ที่ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ หรือแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
วิธีการยื่นชำระภาษีรถยนต์ผ่านอินเทอร์เน็ตมีขั้นตอน ดังนี้
– เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
– ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่)
– Log-in เข้าสู่ระบบ
– ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ที่เมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
– กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี
– กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน) หรือสามารถซื้อพ.ร.บ. ได้จากระบบ
– เลือกช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง ได้แก่
• ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับธนาคาร/สถาบันการเงิน)
• ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (เป็นผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA , Master Card) โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้ให้บริการรับตัดบัตร
• ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือ Application ของธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ
– กรณีชำระเงินยังไม่สำเร็จ/ยังไม่ได้ชำระเงิน สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”
– สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงิน โดยคลิกที่ ปุ่มเครื่องหมายพิมพ์ จะแสดงรายละเอียดการชำระเงินเป็นราย Reference
– กรมการขนส่งทางบก จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่กรอกผ่านหน้าเว็บไซต์
– เจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลการต่อภาษีรถยนต์และจะเห็นว่าตอนนี้มีความสะดวกสบายมากขึ้น แถมยังมีช่องทางการชำระภาษีที่หลายช่องทางและหากเพื่อนๆ ต้องการปรึกษาพูดคุยกับทีมงานเรื่องการซื้อ-ขายรถยนต์มือสองสามารถคุยในไลน์ได้นะครับ
